3. สุขภาพในมุมมองด้านสังคมวิทยา (Sociological approach) เน้นสุขภาพและความเจ็บป่วยในแง่มุมของสังคมและวัฒนธรรม แนวคิดนี้ อธิบายสุขภาพตามความสามารถของบุคคลในการปฏิบัติหน้าที่และกิจการงานในชีวิต ประจำวันตามที่สังคมคาดหวัง เป็นความรู้สึกเชิงบวกที่ประกอบด้วยมิติทุกด้านของบุคคล นอกจากนี้ยังบ่งชี้ว่าความแตกต่างทางด้านสังคมจะทำให้การนิยามสุขภาพแตกต่างกัน ออกไป ดังนั้นการนิยามสุขภาพเน้นให้เป็นนิยามของแต่ละบุคคลมากกว่านิยามจาก บุคลากรทางการแพทย์ แนวคิดของสุขภาพในมุมมองของศาสตร์สาขาต่างๆ ที่ เวสส์ และลอนน์ควิส ได้เสนอไว้ สอดคล้องกับที่ สมิท (Smith, 1983, p.31) ได้ประมวลแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ โดยอาศัยลักษณะความแตกต่างระหว่างสองขั้วของสุขภาพดี และความเจ็บป่วย จาก แนวคิดเชิงแคบไปจนถึงแนวคิดเชิงกว้างไว้ 4 แนวคิด ดังนี้ 1) Clinical model มองสุขภาพดีว่าเป็นการปราศจากอาการและอาการแสดง ของโรค การบาดเจ็บ หรือพิการ และความเจ็บป่วยเป็นภาวะที่มีอาการและอาการแสดง ของโรค การบาดเจ็บ หรือพิการ การดูแลรักษาก็มุ่งเน้นไปที่การขจัดโรคและความ เจ็บป่วยนั้น 2) Role performance model ในแนวคิดนี้สุขภาพถูกมองว่าเป็นความสามารถ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางสังคม เช่น ความสามารถในการทำงาน การทำกิจวัตรประจำวัน ส่วน ความเจ็บป่วยหมายถึงความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่คาดหวัง 3) Adaptive model แนวคิดนี้นิยามสุขภาพว่าเป็นความสามารถที่จะมี ปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างร่างกายและสังคมสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่ามนุษย์ มีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาเพื่อรักษาดุลยภาพกับสิ่งแวดล้อม การเจ็บป่วยหมายถึงความล้มเหลวในการปรับตัวหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลง แนวคิดนี้ทำให้การมองสุขภาพต้องมองให้ครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผล ต่อสุขภาพด้วย 4) Eudaimonistic perspective แนวคิดนี้ได้นิยามสุขภาพว่าเป็นการตระหนัก ในศักยภาพของคนในการพัฒนาตนเอง เป็นภาวะที่บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จสูงสุดในชีวิต ในแนวคิดนี้การเจ็บป่วยถูกมองเหมือนกับอุปสรรคของการมีความสุขหรือความสำเร็จ สูงสุดของชีวิต ในขณะที่สุขภาพดีหมายถึงการพัฒนาให้บรรลุถึงความใฝ่ฝัน มีพัฒนาการ ตามวัยและบรรลุเป้าหมายของชีวิต แนวความคิดทางสุขภาพที่ได้นำเสนอมา มีอิทธิพลต่อการกำหนดวัตถุประสงค์และ การปฏิบัติการให้บริการสุขภาพ ดังจะเห็นได้จากพัฒนาการของแนวคิดด้านการส่งเสริม สุขภาพที่จะกล่าวในตอนต่อไป สำหรับนิยามเกี่ยวกับสุขภาพที่มีการอ้างถึงมากที่สุดได้แก่ นิยามสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1946) ซึ่งได้ให้คำนิยามว่าสุขภาพ 4 แนวคิด ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ และการนำมาใช้
preview25
To see the actual publication please follow the link above