Page 16

preview25

การเปลี่ยนแปลงในแนวความคิดทางด้านสุขภาพที่สำคัญในอีกสมัยหนึ่ง เกิดใน ช่วงศตวรรษที่ 18-19 ได้พัฒนามาจากความเชื่อว่า หากมีสถานการณ์ที่อำนวย คนสามารถ บรรลุสู่ความสมบูรณ์ได้ เรียกว่า “ความสามารถที่จะเข้าถึงความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ (Human perfectibility)” โดยการใช้ความเป็นเหตุเป็นผล คนสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้นโดยใช้กฎหมาย การจัดระบบระเบียบ และการศึกษา ความเชื่อนี้มีอิทธิพลต่อ แนวความคิดของบุคคลที่สำคัญสองคน คือ เจเรมี เบนแทม (Jeremy Bentham, 1748- 1832) และเอ็ดวิน ชัดวิค (Edwin Chadwick, 1800-1890) โดย Bentham ซึ่งเป็น นักปรัชญาสังคม ที่เชื่อว่ามนุษยชาติถูกควบคุมด้วยความสุขสำราญและความเจ็บปวด (Pleasure and pain) ดังนั้น นโยบายใดๆ จะถูกประเมินว่ามีความเหมาะสม ตามอรรถ ประโยชน์ (Utility) ของมันว่าสามารถสร้างประโยชน์ มีข้อดี สร้างความสุขสำราญ หรือลดความทุกข์ ความเจ็บปวดให้แก่ผู้เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด ปรัชญาอรรถประโยชน์ (Utilitarian philosophy) ของ Bentham ได้ถูกนำมาใช้ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคลน (Philosophical radical) ทางด้านการสาธารณสุข โดย Chadwick นำแนวคิดของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมาใช้ในประเทศอังกฤษอย่าง กว้างขวาง เขาได้ผลักดันกฎหมายให้มีมาตรการทางด้านสาธารณสุข ตั้งแต่การจัดหาน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาดและพอเพียง การระบายน้ำเสีย การปรับปรุงสภาพการทำงาน อันเป็นผลให้ สุขอนามัยของประชาชนดีขึ้น และลดอัตราตายจากปีละ 30 คนต่อพัน เหลือเพียง 13 คน ต่อพัน (Smith, 1983, p.28) หากพิจารณาถึงแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพในสมัยฮิปโปเครติส เปรียบเทียบกับแนวคิด ในศตวรรษที่ 19 สมัยของ Chadwick จะเห็นว่า ความเชื่อในเรื่องสุขภาพได้เปลี่ยนไปจาก มุมมองว่าสุขภาพเป็นเรื่องของบุคคล หรือเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล มาเป็น ความเชื่อที่ว่า รัฐมีความสนใจ และความรับผิดชอบในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล ถึงแม้ว่าบางคนอาจไม่สนใจก็ตาม จึงได้มีการออกนโยบาย ใช้มาตรการทางกฎหมาย และกฎระเบียบ เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะให้แก่ชุมชน ทำให้คนมีสุขภาพและ สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แนวความคิดแบบ Philosophical radical จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องกำหนดนโยบาย และจัดบริการสาธารณสุขให้แก่สังคม อย่างไรก็ตามทั้งแนวความคิดว่า คนเป็นส่วนหน่งึ ของธรรมชาติหรือส่งิ แวดล้อม และแนวคิดการเปล่ยี นแปลงส่งิ แวดล้อม เพื่อให้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็ป็นรากฐานสำคัญต่อการบริการสุขภาพและการ ส่งเสริมสุขภาพในสมัยต่อมา สำหรับแนวคิดของสุขภาพในมุมมองของศาสตร์สาขาต่างๆ ที่สำคัญ คือ การ แพทย์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์ เวสส์ และลอนน์ควิส (Weiss & Lonnquist, 2000, p.106-7) ได้เสนอไว้ดังนี้ 2 แนวคิด ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ และการนำมาใช้


preview25
To see the actual publication please follow the link above