คลาดเคลื่อนในความหมายทางด้านภาษา ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์ในการ พัฒนาการคิด การใช้การคิดและความคิดทางด้านภาษา พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้อธิบายความหมายของคำว่า “การ” และ “ความ” ไว้ดังนี้ “การ” หมายถึง งานหรือสิ่งที่ทำธุระหรือหน้าที่ ถ้าอยู่หน้าคำกริยาหมายถึงกรรมวิธี “ความ” หมายถึง เรื่อง อาการ เมื่อเป็นคำนำหน้ากริยาหรือวิเศษเพื่อแสดงสภาพ พระยาอุปกิตศิลปสาร (2511 อ้างถึงใน วนิช สุธารัตน์, 2547) ได้อธิบายการใช้คำว่า “การ” และ “ความ” ไว้ว่า คำ “การ” และ “ความ” ที่นำหน้านี้มีการใช้แตกต่างกัน คือ ถ้านำหน้าคำกริยามักใช้ “การ” แต่ถ้าคำกริยาคำว่า มี เป็น เกิด ดับ เจริญ เสื่อม หรือกริยาที่เกี่ยวกับจิตใจมักใช้ “ความ” นำหน้า เช่น ความมี มีความเป็น ความเกิด ความคิด เป็นต้น วนิช สุธารัตน์ (2547) ได้สรุปว่าควรใช้คำว่า “การคิด” เมื่อเป็นการแสดงถึงการกระทำ วิธีการ หรือกรรมวิธีที่เกิดจากการทำหน้าที่ของจิตใจในเรื่องต่างๆ ที่มีการกระทำเป็นขั้นตอน อย่างชัดเจน เช่น การคิดแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจ เป็นต้น และใช้ “ความคิด” เมื่อเป็นการแสดงสภาพความมีอยู่ เป็นอยู่ หรือคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจากกิริยาอาการของจิตใจ ลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นการกล่าวในลักษณะที่เป็นภาพรวมและมีขอบข่ายและความหมายที่ กว้างกว่า โดยที่คงจะยังไม่สามารถแสดงขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างชัดเจน หรือเป็นรูปแบบที่ สอดคล้องลงตัวตรงกันได้ ความคิดลักษณะนี้ได้แก่ ความคิดรวบยอด ความคิดทางตรรกศาสตร์ จินตนาการ มีสหัชญาน และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ดังนั้น ในการเรียบเรียงเอกสารครั้งนี้ ผู้เขียนจะพิจารณาใช้คำ โดยยึดหลักการดังกล่าวและ พิจารณาความสอดคล้อง เพื่อนำไปสู่การใช้ภาษาประกอบเสมอ โดยใช้คำว่า “การคิด” เมื่อแสดง กริยาและความคิดเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการคิด ความหมายของการคิด การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคิดของนักวิชาการไทย มีการให้ความหมายไว้ ดังต่อไปนี้ ศิริชัย กาญจนวาสี (2537) อธิบายว่า การคิดเป็นกิจกรรมทางสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การคิดที่เราสนใจเป็นการคิดอย่างมีจุดหมาย (directed thinking) ซึ่งเป็นการคิดที่นำไปสู่ เป้าหมายโดยตรง หรือคิดค้นข้อสรุปเป็นคำตอบสำหรับตัดสินใจหรือแก้ปัญหาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2 บทที่ 1 : แนวคิดและหลักการของการคิด
PI_BOOK_10
To see the actual publication please follow the link above