Page 35

preview22

สรีรวิทยาของเซลล์ 11 กอลจิ แอปพาราตัส ไลโซโซม เพอร์ออกซิโชม ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มได้แก่ ไรโบโซม ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม มีรูปร่าง และหน้าที่ต่างกัน ดังนี้ * ไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) (รูปที่ 1-9) พบได้ในเซลล์ทุกชนิด พบมากใน เซลล์ตับและไต สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ธรรมดา เป็นแท่งสั้นๆ หรือเป็นจุด เล็กๆ เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะมี ลักษณะรูปร่างเป็นแท่งยาว กลมรี ยาวประมาณ 2-6 ไมโครเมตร มีเยื่อหุ้มสองชั้น ชั้นนอกเรียบ ชั้นในงอพับเป็นแผ่นแบน มองเห็นเป็นชั้นสลับ ไปมา (Cristae) ที่เยื่อชั้นในนี้ เป็นที่เกาะของ เอนไซม์สำหรับกระบวนการสันดาปออกซิเจน ซึ่ง มีความสำคัญต่อการเผาผลาญโดยใช้ออกซิเจน เพื่อผลิตสารพลังงานสูงในรูป เอทีพี (Adenosine triphosphate) เนื่องจากไมโทคอนเดรียมีสาร พันธุกรรมดีเอ็นเออยู่ จึงมีการหมุนเวียนเปลี่ยน แปลงจำนวนได้ตามกระบวนการทางเคมีชีวภาพ ของแต่ละเซลล์ เซลล์ตับมีโมโทคอนเดรีย 800 เซลล์ อสุจิมีเพียง 20-24 เซลล์ ปกติจะมีวงจรชีวิต เฉลี่ยประมาณ 5-10 วัน แล้วสลายตัวไป แล้ว มีการสร้างเสริมจำนวนทดแทนขึ้นมาใหม่โดย วิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งตัวของไมโทคอนเดรีย ที่มีอยู่ก่อน กำเนิดจากเยื่อหุ้มเซลล์หรือเยื่อหุ้ม ร่างแหหยาบ เป็นต้น ไมโทคอนเดรียจึงมีหน้าที่ เกี่ยวกับการสร้างเอทีพี การหายใจภายในเซลล์ ในขบวนการขนส่งอิเล็กตรอนการเผาผลาญสาร อาหาร * เอนโดพลาสมิกเรทิคูลัม (Endoplasmic reticulum) รูปที่ 1-10 มีลักษณะเป็น ท่อกลวงทรงกระบอกหรือแบน มักจะอยู่รวมกัน เป็นกลุ่มจัดเรียงตัวต่อเนื่องเชื่อมกันไปมาคล้าย ร่างแหอยู่ในไซโทพลาสซึม ผนังเป็นเยื่อหุ้มชั้นเดียว ผิวนอกของท่อมีสองลักษณะคือ ผิวเรียบและขรุขระ จึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดขรุขระ (Rough endoplasmic reticulum, RER) เรียกร่างแห หยาบกับชนิดเรียบ (Smooth endoplasmic รูปที่ 1-9 ไมโทคอนเดรีย (ก) ภาพวาด (ข) ภาพจริง รูปที่ 1-10 ภาพของร่างแห (ก) ภาพจริง (ข) ภาพวาด


preview22
To see the actual publication please follow the link above