Page 34

preview22

10 สรีรวิทยา 1 ส่วนคาร์โบไฮเดรตซึ่งมีอยู่เพียง ร้อยละ 1 จะอยู่ที่ผิวเยื่อหุ้มเซลล์โดยอาจจะจับ อยู่กับโปรตีน (glycoprotein) หรือไขมัน (glycolipid) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำ จึงทำหน้าที่ เป็นตัวรับ (Receptor) ที่มีความจำเพาะต่อสาร เคมีบางชนิด เช่น ฮอร์โมน สารสื่อประสาท ซึ่ง จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารของเซลล์ สรุปได้ว่า ทั้งไขมันและโปรตีนต่างก็ เป็นโมเลกุลที่มีสองขั้วโดยไขมันจะหันหัวที่ชอบน้ำ (polar head group ซึ่งมีฟอสเฟตเป็นส่วน ประกอบ) ออกสู่น้ำนอกเซลล์และน้ำในเซลล์ หัน หางที่กลัวน้ำเข้าหากันประกบกันเป็น 2 ชั้น เพื่อ คัดกรองสารเข้าออกเซลล์และรักษาสภาพของเยื่อ หุ้มเซลล์ให้กึ่งเหลวอยู่เสมอโดยมีโปรตีนสอดแทรก อยู่ในชั้นไขมันที่ไม่ชอบน้ำเป็นช่องเป็นตัวพาสาร เข้าออกเซลล์ตามกลไกการแลกเปลี่ยนสารของสิ่ง มีชีวิตโดยมีไกลโคโปรตีนเป็นตัวจดจำและรับสาร ต่างๆ อยู่ทางด้านนอก ซึ่งกลไกการขนส่งสารนี้จะ ได้กล่าวละเอียดในตอนต่อไป หน้าที่โดยทั่วไปของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวกั้นแบ่งสิ่งแวดล้อม ภายในออกจากภายนอกเซลล์ กั้นแบ่งเซลล์ต่างๆ ออกจากกันเป็นอิสระต่อกัน ควบคุมการเคลื่อน ย้ายสารผ่านเข้าออกเซลล์ รักษาสภาพแวดล้อม ภายในเซลล์ให้อยู่ในสภาพปกติ นอกจากนี้เยื่อ หุ้มเซลล์ยังอาจดัดแปลงรูปร่างไปเป็นลักษณะ ต่างกันเพื่อทำหน้าที่เฉพาะด้าน 1) ไมโคร วิลไล (microvilli) เป็นส่วน ของไซโทพลาสซึมที่ยื่นออกจากผิวด้านบนของ เซลล์เยื่อบุ (Epithelial cell) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ หรือทรงกระบอกบุด้านนอกด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ ภายในมีกลุ่มเส้นใยฝอย (microfilament) เป็นแกน พบที่เซลล์บุผิวทางเดินอาหาร ทางเดินอากาศหายใจ ท่อระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์เพื่อดูดซึมสาร ต่างๆ รวมทั้งการขับเคลื่อนโมเลกุลหรืออนุมูลเข้าสู่ หรือออกจากเซลล์โมโครวิลไลช่วยเพิ่มพื้นที่ของ เซลล์ได้หลายเท่า 2) ซิเลีย (Cilia) ยื่นออกจากผิวเซลล์ ยาวประมาณ 5-10 ไมโครเมตร ประกอบด้วยท่อ จุลภาคและโปรตีน (tubulin) ซึ่งหดตัวได้ จึง สามารถโบกสะบัดหรือบิดตัวได้ จะบุผิวทางเดิน หายใจ ท่อน้ำดี ท่อไต ซิเลีย มีหน้าที่พัดโบก คน หรือกวนของเหลวให้เป็นเนื้อเดียวกัน 3) รอยเชื่อมระหว่างเซลล์ (Junctional complexes) ดัดแปลงเยื่อบุเซลล์ด้านข้างเพื่อการ ยึดติดกันของเซลล์ให้อยู่ด้วยกัน ได้แก่ รอยต่อสนิท (tight junction) desmosome ยึดระหว่างเซลล์ เยื่อบุด้วยกันและ gap junction พบในเซลล์ ที่มีบทบาทสังเคราะห์สารประกอบชีวภาพ เช่น เซลล์ตับ เซลล์ดูดซึมของลำไส้ เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ ยังมีการดัดแปลงรูปร่างไปต่างๆ กันได้อีกตามชนิด และหน้าที่ของเซลล์ 1.1.2 ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) ไซโทพลาสซึม ประกอบด้วยส่วนที่ เป็นของเหลว (Cytosol, cytoplasmic matrix) อวัยวะเล็กๆ (Organelles) และสิ่งที่เซลล์สร้างขึ้น (Inclusion body) 1) ไซโทซอล เป็นของเหลวภายใน เซลล์ ซึ่งเป็นสารละลายของสารอินทรีย์และ เกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งสารแขวนลอยมีลักษณะ คล้ายวุ้น คือ ข้นและหนืด ถ้าย้อมด้วย H&E จะติดสีแดง ภายในไซโทซอลจะมีอวัยวะเล็กๆ ที่ เรียกออกร์แกเนลล์อยู่ห่างกัน 20 นาโมเมตร มี น้ำย่อยละลายอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งกลาง ของปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ (Intermediary metabolism) 2) ออร์แกเนลล์ แขวนลอยอยู่ใน ไซโทพลาสซึม แต่ละออร์แกเนลล์ จะมีเยื่อหุ้ม ซึ่ง อาจจะเป็นชั้นเดียวหรือเป็นสองชั้น ออร์แกเนลล์ ที่มีเยื่อหุ้มได้แก่ ไมโทคอนเดรีย ร่างแหหยาบ


preview22
To see the actual publication please follow the link above