Page 25

preview22

บทที่ 1 สรีรวิทยาของเซลล์ บทนำ สรีรวิทยา (physiology) เป็นวิชาที่ศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการทำงานและหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตทุก ระดับทั้งในพืชและสัตว์ โดยเน้นกระบวนการที่ ควบคุมระบบที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติ ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกร่างกาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การศึกษาทางสรีรวิทยาเดิมทีศึกษาในสัตว์ เช่น หนู ปลา สุนัข เนื่องจากการศึกษาในมนุษย์ (Human physiology) เกี่ยวข้องกับจริยธรรม สรีรวิทยายังมีพื้นฐานมาจากฟิสิกส์ เคมีวิทยาและ คณิตศาสตร์ โดยนักสรีรวิทยาสันนิษฐานว่าร่างกาย มนุษย์ใช้กระบวนการทางเคมี ฟิสิกส์เช่นเดียวกัน กับสิ่งที่ปรากฏในโลกไร้ชีวิต เช่นว่า การกระจายตัว ของไอออน ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ก็เป็นไปอย่างที่ อธิบายไว้ในศัพท์อุณหพลศาสตร์ การหดตัวของ กลา้มเนอื้จะเกยี่วขอ้งกบัเรอื่งของแรงและความเรว็ เป็นต้น สรีรวิทยาตามรากศัพท์เดิมแปลว่าความรู้ เกี่ยวกับร่างกาย (สรีระ ร่างกาย วิทยา ความรู้) แต่ก่อนที่จะศึกษาถึงหน้าที่ของสิ่งใด จำเป็นต้อง ทราบถึงโครงสร้าง (Structure) ของสิ่งนั้นก่อนว่า รัชฎา แก่นสาร์ จุดประสงค์ของการเรียนรู้ 1. อธิบายองค์ประกอบของมนุษย์ได้ 2. อธิบายการทำงานที่สำคัญของเซลล์ได้ 3. อธิบายถึงสภาวะแวดล้อมในร่างกายและการรักษาสมดุลทางสรีรได้ มีลักษณะและองค์ประกอบอย่างไร จึงจะสามารถ ศึกษาถึงการทำงานและการประสานงานกันได้ ดังนั้น การศึกษาสรีรวิทยาจึงต้องมีความ รู้พื้นฐานทางกายวิภาค (Anatomy) มาก่อน ดัง คำกล่าวที่ว่า มีโครงสร้างก่อนจึงมีหน้าที่ตามมา สรีรวิทยาจัดเป็นวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง (Experimental science) โดยศึกษาจากการ ทดลองในสัตว์หรือมนุษย์ แล้วจึงสรุปว่าส่วน นั้นๆ หรือองค์ประกอบนั้น มีการทำงานอย่างไร การศึกษาทางสรีรวิทยา มีดังนี้ 1. ศึกษาการทำหน้าที่ (Function) โดย อาศัยหลักฐานจากผลการทดลองที่ได้มาสรุปว่า แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร 2. กลไกและกลวิธี (mechanism) สำคัญ มากในการทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อ มีกลไก การทำงานอย่างไร 3. ผลที่เกิดขึ้น (Output, response) จากการทำงานเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นผลทางกายภาพ ผลทางเคมีหรือ ทางไฟฟ้า 4. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับส่วนอื่น (Interrelation) ในอวัยวะที่มีเป็นคู่ เช่น ไต ถ้า


preview22
To see the actual publication please follow the link above