Page 26

preview22

2 สรีรวิทยา 1 ตัดไตออกข้างหนึ่ง ข้างที่เหลือจะทำงานชดเชย เพิ่มขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือบางอวัยวะถ้าหาก ผิดปกติอาจมีผลทำให้อวัยวะอื่นทำงานผิดปกติ ไปด้วย 5. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual variation) เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ 6. การควบคุม (Control) และปรับการ ทำงาน (Regulation) เพื่อให้เหมาะสมและเป็น ไปตามความต้องการของร่างกายในขณะนั้นๆ ร่างกายใช้ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ควบคุมการดำรงสภาพปกติในร่างกาย 7. การปรับตัว (adaptability) และการ ปรับชดเชย (Compensation) เช่น อากาศหนาว เราจะห่อตัวขนลุกเก็บอุณหภูมิ แต่ถ้าอากาศร้อน จะมีการระบายเหงื่อออกมากขึ้น 8. การเปลี่ยนแปลงในรอบวัน (Diurnal variation) เช่น ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล เวลา 4.00 น. หลั่งสูงสุด ประมาณ 9.00 น. ทุกๆวัน เพื่อเตรียมร่างกายให้สดชื่นกระปรี้ กระเปร่า องค์ประกอบของมนุษย์ นักชีววิทยาได้มีการศึกษาก้าวหน้าถึง ระดับโมเลกุล ทำให้นักสรีรวิทยาศึกษาค้นคว้า จนถึงระดับโมเลกุลด้วยเช่นกัน ด้วยความก้าวหน้าทางควอนตัมฟิสิกส์ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์เพียงใด เพราะ ประกอบขึ้นจากสิ่งที่เล็กที่สุดคือควาร์ก (Quark) มีควาร์กอัพ และควาร์กดาวน์ ซึ่งนักควอนตัม ฟิสิกส์ระบุว่า ควาร์กเป็นพลังงานที่มีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บังคับไม่ได้ มันจะมารวมกันตามระดับพลังงานของมันเอง ใหญ่กว่าควาร์ก ขึ้นมาอีกเล็กน้อยคือ นิวตรอน และโปรตรอน ซึ่งอยู่ในนิวเคลียส โดยมีอิเล็กตรอน ซึ่งก็เป็นกลุ่มพลังงานขนาดเล็กที่มีปะจุไฟฟ้าลบ เคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียส ทั้ง 3 อย่างรวมกันเป็น อะตอม อะตอมของธาตุในร่างกายมนุษย์มีอยู่ 24 ธาตุ แต่ที่มีมากถึงประมาณร้อยละ 98.5 มีอยู่ 6 ธาตุ คือ ออกซิเจน ร้อยละ 65 (เป็นส่วน ประกอบของน้ำ) คาร์บอน ร้อยละ 18 (เป็น ส่วนประกอบของโมเลกุลอินทรีย์) ไฮโดรเจน ร้อยละ 10 (ส่วนประกอบของน้ำ) ไนโตรเจน ร้อยละ 3 (ส่วนประกอบของกรดนิวคลิอิก) แคลเซียมร้อยละ 1.5 (ส่วนประกอบของกระดูก และฟัน) ฟอสฟอรัส ร้อยละ 1 (ส่วนประกอบ ของกระดูก ฟัน สารพลังงานสูง) ที่เหลือมีอยู่เพียง เล็กน้อย แต่ก็เป็นส่วนประกอบที่ร่างกายขาด ไม่ได้ เช่น ธาตุเหล็กมีอยู่เพียงร้อยละ 0.006 ช่วย ขนส่งออกซิเจนในร่างกาย โดยธาตุทั้งหลายดังกล่าวจะมีแรงยึด เหนี่ยวที่จำเพาะต่อกันเรียกว่าพันธะเคมีเกิดเป็น โมเลกุลขึ้น เช่น น้ำจะมีคุณสมบัติแผกไปจาก เดิมโดยสิ้นเชิงและยังเป็นส่วนประกอบที่มีมาก ที่สุดในร่างกายถึงร้อยละ 60 โมเลกุลเล็กๆ รวมกันเป็นมหโมเลกุล ประกอบเป็นอวัยวะเล็กๆ (organelle) ตั้งแต่ เล็กสุด เช่น ไรโบโซมจนถึงใหญ่สุด แต่ละอวัยวะ เล็กๆ ต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป อวัยวะ เล็กดังกล่าวต่างก็อัดแน่นอยู่ในเซลล์ ดังนั้น เซลล์จึงเป็นทั้งหน่วยโครงสร้างและหน่วยที่ ทำหน้าที่ก็เพราะว่าเราสามารถแยกเซลล์มาศึกษา ส่วนประกอบของมันได้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เซลล์หลายเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิด คือเนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อ เกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปรวมกันเป็นอวัยวะ หลายอวัยวะรวมเป็นระบบ หลายระบบรวมกัน เป็นร่างกาย สรุปได้ดังรูปที่ 1-1, 1-2, 1-3


preview22
To see the actual publication please follow the link above