สับสน วินัยที่มีพื้นฐานจากความรัก ความเข้าใจ มีความยุติธรรม มีความมั่นคงสม่ำเสมอ จะทำให้ เด็กเกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติ เชื่อมั่นในตนเอง พัฒนาความคิดและการกระทำในกรอบของ กฎเกณฑ์ที่เหมาะสม และนำไปสู่การควบคุมตนเองของเด็กได้อย่างเหมาะสมในโอกาสต่อไป 2.4 ความต้องการเป็นอิสระและพึ่งพาผู้อื่นในขณะที่เด็กเติบโตขึ้นและมีวุฒิภาวะ มากขึ้น เขาจะสามารถควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของตนเองได้ มีการตัดสินใจด้วยตัวเองมากขึ้น แต่ อย่างไรก็ตามความสามารถของเด็กก็จะยังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ในความ สามารถของการทำงานที่ไม่พึ่งพาคนอื่น แม้ว่าจะมีแรงขับภายในให้เขามุ่งเอาชนะและพยายาม ทำให้สำเร็จ แต่บางครั้งเขาก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ ดังนั้นการกลับไปสู่ภาวะ พึ่งพาคนอื่นและถอยกลับไปในพฤติกรรมก่อนหน้านั้น ไม่เพียงแต่ไม่ผิดปกติ แต่กลับมีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับเด็กมาก ทั้งนี้เพราะเมื่อเด็กออกไปเผชิญกับสิ่งที่ไม่เคยพบ ไม่เคยลองมาก่อนแล้ว เกิดความสงสัยไม่แน่ใจ ไม่สามารถรับมือกับสิ่งที่ได้เผชิญมาเด็กอาจถอยกลับไปสู่ระยะพัฒนาการ ที่ผ่านมา โดยมีความสุขสบายปลอดภัยมากกว่า เพื่อตระเตรียมเพิ่มเติมความคิดและวิธีการเอาชนะ ปัญหาที่ได้เผชิญมานั้นอีกครั้ง ซึ่งไม่ควรถูกมองว่าผิดปกติ แต่ถ้าเด็กถูกผลักดันให้มีพฤติกรรมหรือ การกระทำโดยอิสระก่อนที่จะพร้อม เด็กจะถอยหนีจากอิสรภาพนั้น และถ้าเขาไม่ยอมปล่อยตัวเอง จากภาวะนั้นก็จะเป็นการเสียเวลามาก ดังนั้นบิดามารดา ครู พยาบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เด็ก จึงมีหน้าที่รับผิดชอบในอันที่จะต้องปรับระดับความคาดหวังของเด็ก และสนับสนุนให้เขา สามารถพบกับความต้องการของเขาในขณะนั้น สิ่งสำคัญก็คือต้องตระหนักให้ดีว่าเมื่อใดควร ช่วยเหลือหรือปล่อยให้เด็กทดลองความสามารถของเขาตามลำพัง 2.5 ความต้องการมีคุณค่าในตัวเอง คุณค่าในตัวเองของเด็กมีรากฐานมาจากการประเมิน ความสามารถของตนเอง และการยอมรับจากสังคมแวดล้อม เด็กวัยเตาะแตะมีลักษณะการยึด ตนเองเป็นศูนย์กลางสูง จะยังไม่เข้าใจความแตกต่างในความสามารถหรือการยอมรับจากสังคม เพราะคิดว่าตัวเขาเองคือศูนย์กลางของโลก ประสบการณ์ในด้านบวกที่เด็กได้รับทั้งหมดจะเป็น เครื่องชี้บ่งถึงความสำคัญและคุณค่าของเขา ในขณะที่เด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียนซึ่งตระหนักได้ ในความแตกต่างระหว่างความสามารถของเขากับเด็กอื่นที่เหนือกว่า การยอมรับจากผู้ใหญ่และ เพื่อนฝูงนอกครอบครัวจะมีความหมายและสำคัญสำหรับเด็ก แต่บุคคลเหล่านี้อาจไม่มีความยินดี ความภาคภูมิใจในความสำเร็จของเขา และอาจไม่เข้าใจความสามารถที่จำกัดของเด็กเช่นเดียวกับ บิดามารดาหรือบุคคลในครอบครัว ถ้าเด็กมีความล้มเหลวในการทำงาน ความรู้สึกที่เด็กเพิ่งจะ รู้จักและได้รับ อาจนำไปสู่ความวิตกกังวล เด็กจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรู้สึกด้อยคุณค่าและ ซึมเศร้าได้ง่าย แต่เมื่อเด็กมีความสามารถมากขึ้น สามารถพัฒนาสัมพันธภาพอย่างมีความหมาย กับบุคคลอื่นได้ จะรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น พอถึงช่วงวัยรุ่นเด็กจะมีความเสี่ยงใหม่อีกครั้งจากการที่เขา กำหนดความหมายของชื่อเสียงและความรู้สึกต่อตนเอง (sense of self) ว่าเป็นสิ่งที่ได้มาจากเพื่อนฝูง อย่างไรก็ตามความรู้สึกด้อยคุณค่าของเด็กจะมีอยู่เป็นการชั่วคราวเท่านั้น ถ้าเด็กไม่ถูกทำให้เกิด 20 การพยาบาลเด็ก เล่ม 1
preview27
To see the actual publication please follow the link above