Page 16

preview27

ได้มีผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเด็กไทยไว้มากมาย องค์กรต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนต่างก็จัดกิจกรรมเพื่อ เด็กโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งพัฒนาเด็ก เนื่องจากองค์กรต่างๆ และผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเด็กนั้นมี เจตนารมณ์ในการดำเนินงานต่างกัน จึงได้มีการกำหนดความหมายของเด็ก โดยใช้เกณฑ์อายุที่ แตกต่างกัน ความหมายอย่างเป็นทางการของเด็กที่สำคัญๆ พอประมวลได้ดังนี้ 1. ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำว่า “เด็ก” ไว้หลายอย่างคือ คนที่มีอายุยังน้อย บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ บุคคลที่มีอายุแต่ 15 ปีลงมา และบุคคล ผู้มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546 : 413) 2. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 4 กำหนดความหมาย ของเด็กและเยาวชนว่า “เด็ก” หมายถึง บุคคลอายุเกินกว่าเจ็ดปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ “เยาวชน” หมายถึง บุคคลอายุเกินกว่าสิบสี่ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ และให้รวมถึง บุคคลที่อายุต่ำกว่าสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส 3. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 4 ได้กำหนดว่า เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส 4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ พ.ศ. 2533 ให้คำนิยามคำว่า “เด็ก” หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น ตามกฎหมายที่ใช้ บังคับแก่เด็กนั้น ความหมายของเด็กในแต่ละวัย ทางกุมารเวชศาสตร์ได้นิยาม “วัยเด็ก” คือสภาวะชีวิตของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์ ตราบจนเข้าสู่วัยรุ่น (อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, 2534: 5) โดยจำแนกออกเป็นระยะต่างๆ คือ 1. ระยะก่อนคลอด (prenatal period) หรือวัยก่อนเกิด หมายถึง ช่วงวัยที่ทารกอยู่ในครรภ์ มารดา นับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิจนถึงเกิด ซึ่งมีระยะเวลานานประมาณ 9 เดือน หรือ 280 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมาก เป็นระยะที่มีพัฒนาการด้านร่างกายเป็น ส่วนมาก 2. วัยทารก (infancy period) เป็นระยะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 1 ปี เป็นช่วงที่มี การเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นวัยที่อ่อนแอกว่า วัยอื่น จึงมีการเจ็บป่วยและตายมากกว่าวัยอื่น และเป็นวัยที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นวัยที่มี การสร้างรากฐานของการพัฒนาบุคลิกภาพในระยะต่อๆ ไป ในวัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ 2.1 วัยทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือน เป็นระยะที่มีความ สำคัญอย่างมาก ทารกต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพมากมาย ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ภายนอกครรภ์มารดา ต้องพึ่งผู้อื่นในการดำรงชีวิต 2.2 วัยทารก หมายถึง ทารกที่มีอายุ 1 เดือนจนถึง 1 ปี เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตที่ 2 การพยาบาลเด็ก เล่ม 1


preview27
To see the actual publication please follow the link above