บทที่ 1 แนวคิดการดูแลสุขภาพเด็กและครอบครัว พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา ศรีสุดา เอกลัคนารัตน์ เด็ก เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญและมีคุณค่า ขณะเป็นทารกแรกเกิดเป็นเพียงผู้รับเท่านั้น เมื่อเติบโตขึ้นจึงค่อยๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติ เรียนรู้กฎเกณฑ์ ศีลธรรมและความจำเป็นที่ จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านั้น เลียนแบบพฤติกรรม การสั่งสอนอบรมของบิดามารดา ญาติ และบุคคลใกล้ชิด ฉะนั้นเด็กจะมีพฤติกรรมอย่างใดขึ้นกับประสบการณ์ในชีวิตเบื้องต้น ซึ่งจะมีอิทธิพล ต่อเจตคติและพฤติกรรมของบุคคลตลอดชีวิตของเขา ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานเนื่องในโอกาสปีเด็กสากล พุทธศักราช 2552 มี ใจความตอนหนึ่งว่า “เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่รวมทั้งการรับผิดชอบในการ ดำรงรักษาความผาสุกสงบของประชากรในโลกดังนั้นเด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับ การอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม” (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1, 2552 : 1) แนวคิดการดูแลสุขภาพเด็กและครอบครัว เด็กต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโต และพัฒนาการปกติตามวัย ได้รับภูมิคุ้มกัน สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคติดต่อ และเมื่อเจ็บป่วย เด็กควรได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและ จิตวิญญาณ เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ตามศักยภาพของ ครอบครัว ความหมายของเด็ก เด็ก คือบุคคลที่อยู่ระหว่างการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา วัยเด็กเป็นวัยที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง แต่ละวัยแต่ละอายุมีลักษณะ เฉพาะในช่วงระยะนั้นๆ อัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีระบบและมี ลำดับขั้น อาจเร็วช้าต่างกันตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบทางพันธุกรรม ในประเทศไทย
preview27
To see the actual publication please follow the link above