Page 18

PI_BOOK_10

ชาติ แจ่มนุช (2545) อธิบายว่า การคิด คือ (1) เป็นกระบวนการทำงานของสมองโดยใช้ ประสบการณ์มาสัมผัสกับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ ตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และ (2) เป็นพฤติกรรมที่เกิดในสมองเป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า การที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร คิดอย่างไร จะต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกหรือ คำพูดที่พูดออกมา เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546) อธิบายว่า การคิด คือ กิจกรรมทางความคิดที่มี วัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง เรารู้ว่าเรากำลังคิดเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง และสามารถ ควบคุมให้คิดจนบรรลุเป้าหมายได้ ทิศนา แขมมณี (2547) อธิบายว่า การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ ซึ่งมี ศักยภาพสูงมาก และเป็นส่วนที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่นๆ โดยตั้งแต่อดีต มนุษย์มี ความสามารถในการคิดในแต่ละยุคแต่ละสมัย ต่างก็ได้พยายามคิดค้นหาคำอธิบายเกี่ยวกับการคิด ซึ่งแฝงอยู่ในเรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้หลากหลาย การศึกษาและแนวคิดในอดีตจะเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญที่สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดใหม่ๆ เพิ่มคุณภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ สาโรช บัวศรี (อ้างถึงใน สุวิทย์ มูลคำ, 2547) ได้ให้ความหมายของการคิดว่า เป็นกิจกรรม ทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ โดยแบ่งแยกออกจากกันมิได้ ได้แก่ ความรู้สึก ความจำ และจินตนาการ สรุปแนวคิดของนักวิชาการไทยได้ ดังนี้ การคิด เป็นการทำงานของสมองที่อาศัยกลไก กระบวนการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้อง ความคิด/จิต กับสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อม สัมพันธ์กับ ประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์มีศักยภาพมากกว่าสัตว์โลกอื่นๆ การคิดจะแฝงอยู่กับการ เรียนรู้ ทำให้มนุษย์เกิดความเข้าใจในแนวคิดใหม่ๆ เพิ่มคุณภาพการเรียนรู้ได้ แต่ต้องกำหนด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของกิจกรรมให้ชัดเจน พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ สังเคราะห์ และประเมินอย่างมีระบบและเหตุผล เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ในด้านนักวิชาการต่างประเทศก็ได้ให้ความหมายของการคิดอย่างหลากหลาย ดังต่อไปนี้ Vinacke (1976) อธิบายว่า การคิดเป็นการจัดระบบและรูปแบบใหม่ของประสบการณ์ ที่ผ่านมาแล้วให้เข้ากับสภาพการณ์ปัจจุบัน Sigel (1984 อ้างถึงใน เชิดศักดิ์ โฆวาสินธ์ุ, 2540) ได้รวบรวมและสรุปความหมายของ การคิดว่าจะมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีขอบเขตตามลักษณะปฏิบัติการทางสมอง (mental junction) จากสิ่งที่เรียกว่า “suggesting passive reception” ซึ่งได้แก่ การใคร่ครวญ (reflection) การคิดอย่างจดจ่อ (serious though medition) และการคิดอย่างลึกซึ้ง (cognitation) ไปสู่ active approach ซึ่งเป็นการแสดงออกของพลังสมอง (mental action) 4 บทที่ 1 : แนวคิดและหลักการของการคิด


PI_BOOK_10
To see the actual publication please follow the link above