Page 39

preview22

สรีรวิทยาของเซลล์ 15 กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจจะ ทำงานร่วมกับเส้นใยที่มีขนาดใหญ่คือไมโอซิน ทั้ง สองชนิดจะวางเรียงประสานกันอย่างเป็นระเบียบ 3. อินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์ (Intermediate filament) จะคั่นอยู่ระหว่างท่อจุลภาค กับเส้นใยจุลภาคมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปเช่น skeletin ในกล้ามเนื้อลาย tonofilment ในเซลล์รูปแบน neurofilament ในเซลล์ประสาท ทำหน้าที่เป็นโครงเสริมเซลล์ 4. เซนโตรโซม (Centrosome) อยู่ ใกล้นิวเคลียสประกอบด้วยสอง ส่วนคือ เซนตริโอล 1 คู่ และสารที่อยู่รอบๆ เซนตริโอล เซนตริโอล มีรูปร่างทรงกระบอกกลวง แต่ละอันประกอบด้วย ท่อจุลภาค 9 กลุ่มๆ ละ 3 ท่อ เรียงกันเป็นวงกลม รอบๆ เซนตริโอล เป็นสสาร เรียงตัวไปมาเป็นวงแหวนทั้งนี้เพื่อการเจริญของ mitotic spindle ซึ่งจำเป็นสำหรับการแบ่งตัวของ เซลล์ * สิ่งที่เซลล์สร้างขึ้น (Cytoplasmic inclusion) เป็นสิ่งที่เซลล์สร้างขึ้นและสะสมไว้ ภายในไซโทพลาสซึม พบได้ในเซลล์บางชนิดและ บางโอกาสเท่านั้น มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกัน ในเซลล์ชนิดเดียวกัน แต่อาจแตกต่างกันในเซลล์ ต่างชนิดกัน สิ่งผลิตภายในเซลล์ที่พบได้ง่ายๆ ได้แก่ ไกลโคเจนในเซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อ ไขมัน (lipid droplet) เมือก (mucous droplet) สารประกอบ ferritin แกรนูลสำหรับการส่งออก (secretory granule) Zymogens granule, neuroendocrine granule) และสารมีสี (melanin, lipofuscin) เป็นต้น 1.1.3 นิวเคลียส (Nucleus) นิวเคลียส เป็นออร์แกเนลล์ขนาดใหญ่ มีความสำคัญคือ เป็นศูนย์กลางของเซลล์และเป็น ที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม มีโครงสร้างซับซ้อน (รูปที่ 1-15) มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการทำงาน รูปร่างหรือหน้าที่เปลี่ยนไป นิวเคลียสมีความไวต่อ สารที่จะมาทำอันตรายต่อเซลล์ นิวเคลียสมีรูปร่างกลมหรือรีมักจะ อยู่ตรงกลางเซลล์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 ไมครอน มีเยื่อหุ้มสองชั้นหนาประมาณ 80-90 อังสตรอม เชื่อมติดกันไม่แน่นอน ทำให้เกิดเป็นรูเล็ก (nuclear pore) หรือเป็นหลุมเพื่อเป็นทางเคลื่อนเข้าออก ของสาร ภายใน นิวเคลียส มีนิวคลิโอลัส 1-2 อัน ซึ่ง เป็นกลุ่มของเส้นใยที่ขดกันเป็นก้อน ฝังตัวอยู่ใน นิวคลิโอพลาสซึม สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้และยัง สามารถจะรวมตัวหรือแบ่งตัวได้ด้วย นิวคลิโอลัส มีหน้าที่สังเคราะห์อาร์ อาร์เอนเอ (rRNA) ภายใน นิวเคลียสมีเส้นใยโครมาติน (ขนาด 10 นาโนเมตร) กระจายอยู่ทั่วไปประกอบด้วย DNA ฮีโตนและ โปรตีนบางชนิดในระยะพักของการแบ่งเซลล์จะ เห็นเส้นใยเป็น 2 ชนิด คือ ติดสีเข้ม (heterochromatin) อยู่รอบ ๆ นิวเคลิยสเป็นระยะพัก (inactive) อีกชนิดหนึ่งติดสีจาง (euchromatin) กระจายอยู่ตามช่องว่างภายในนิวเคลียสเป็นที่ที่มี การจำลองดีเอ็นเอและการสร้างอาร์เอนเอส่งข่าว เมื่อเซลล์จะแบ่งตัวโครมาตินจะหด สั้นเป็นแท่งมีสองแขนเรียกโครโมโซม * เพื่อความเข้าใจอันดีขอกล่าวถึง สารพันธุกรรมพอเป็นสังเขป * จีน (gene) หรือหน่วยถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย สายนิวคลิโอไทด์ ซึ่งมีส่วนประกอบย่อย 3 อย่างคือ 1) น้ำตาลเป็นน้ำตาลเพนโตส มีโครงสร้างเป็น วงคาร์บอน 5 อะตอม ในดีเอ็นเอเป็นน้ำตาลดีออก ซีโรโบส ส่วนอาร์เอนเอ เป็นน้ำตาลไรโบส 2) ฟอสเฟต 3) เบสมีอนุพันธ์ของคู่เบสจับกันแบบ คู่สม (Complementary base) คือ A:T, G C ด้วยพันธะไฮโดรเจน โครงสร้างของดีเอ็นเอจึงเป็นสาย พอลิเพปไทด์ 2 สาย หมุนรอบเป็นเกลียวคู่


preview22
To see the actual publication please follow the link above