Page 38

preview22

14 สรีรวิทยา 1 ประกอบด้วหน่วยย่อยสองหน่วยที่มีขนาดแตกต่าง กันคือ ขนาดใหญ่ (6OS) และขนาดเล็ก (40S) สร้างจากนิวคลิโอลัสแล้วปล่อยออกสู่นิวเคลียส แยกกันเป็นเดี่ยวๆ ต่อเมื่อออกสู่ไซโทพลาสซึมจึง รวมกัน โดยวางทับซ้อนกันมีลักษณะเป็นจุดสีดำ ทึบมีการเรียงตัว 3 แบบคือ 1) แยกตัวอยู่เดี่ยวๆ เป็นอิสระ กระจายอยู่ทั่วไปในไซโทพลาสซึม (free ribosome) มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนไว้ใช้ภายใน เซลล์ 2) รวมกันเป็นกลุ่มเกาะอยู่กับสาร mRNA (free polyribosome) ทำหน้าที่ส่งข่าวการสร้าง โปรตีน และ 3) จับรวมกันเป็นสายโพลีไรโบโซม ยึดเกาะกับผนังด้านนอกของร่างแหหยาบมีหน้าที่ สร้างโปรตีนเพื่อการส่งออกนอกเซลล์และโปรตีน ที่ใช้สอดแทรกในผนังเยื่อหุ้มเซลล์ โครงร่างหลักของเซลล์ (Cell cytoskeleton) โครงร่างหลักเป็นเครือข่ายของเส้น ใยฝอยโปรตีนที่ยืดออกไปตลอดไซโทพลาสซึมมี อยู่ 3 ชนิด ที่เป็นส่วนประกอบของโครงร่างนี้ ได้แก่ ท่อจุลภาค (microtubule) ไมโครฟิลาเมนท์ (microfilament) และ intermediate filament ดังรูปที่ 1-14 1. ท่อจุลภาค ขนาดใหญ่ที่สุดเป็น ท่อกลวงมีขนาดภายนอก 20-25 นาโนเมตร แกนใน 15 นาโนเมตร ยาวหลายไมครอนแต่ละท่อประกอบ ด้วย 13 ฟิลาเมนต์ พบได้ในไซโทพลาสซึมและ นิวเคลียส ประกอบด้วยโปรตีน tubulin ท่อจุลภาคทำหน้าที่สำคัญคือรักษา รปูทรงของเซลล์ ชว่ยในการเคล่อืนยา้ยออร์แกเนลล์ เช่น ถุงขับหลั่งเคลื่อนย้ายโครโมโซมระหว่างเซลล์ แบ่งตัว (mitotic spindle) การพัดโบกของซิเลีย และหางเซลล์ (Flagella) สาร Colchicines สามารถหยุด การสร้างท่อจุลภาคได้ โดยรวมตัวกับทิวบูลิน ดังนั้น สารคอลซิคินจึงยับยั้งการแบ่งเซลล์ในระยะ metaphase ได้ 2. เส้นใยจุลภาค (microfilament) มีขนาดเล็กที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 นาโนเมตร ประกอบ แอกทินและไมโอซินโดยแอกทินเป็น โปรตีนมีจำนวนมากกว่าไมโอซินในอัตรา 10 : 1 จะพบแอกทินมากแถวริมๆ ของเซลล์ ทำหน้าที่ สองประการคือ ช่วยการเคลื่อนย้ายออร์แกเนลล์ การหดตัว การแบ่งเซลล์ และเป็นโครงสร้างเสริม ความแข็งแรงของรูปทรงเซลล์ ก ข รูปที่ 1-14 (ก) โครงร่างหลักของเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่ยึดออร์แกเนลล์ต่างๆ ไม่ให้เคลื่อนไหว ส่วนใหญ่เป็นท่อจุลภาค (ข) เส้นใยบางของกล้ามเนื้อ (actin filament)


preview22
To see the actual publication please follow the link above