Page 31

preview22

สรีรวิทยาของเซลล์ 7 1. ส่วนประกอบของเซลล์ เนื่องจากเซลล์เป็นทั้งหน่วยโครงสร้างและ หน่วยที่ทำหน้าที่จึงสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ตาม ทฤษฎีทางชีววิทยากล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตประกอบ ด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ เซลล์ใหม่เกิด จากเซลล์เก่าที่มีอยู่เดิมเท่านั้น ทุกเซลล์มีส่วน ประกอบพื้นฐานและกระบวนการเผาผลาญสาร อาหารเหมือนกัน การที่เซลล์สามารถดำรงอยู่ได้ ด้วยตนเองเช่นนี้ก็เพราะมันมีจีนส์ที่บรรจุข้อมูล คำสั่งสำหรับการสร้างสารโปรตีนต่างๆที่จำเป็น ต่อการทำงานของเซลล์ในขณะนั้นๆ ในธรรมชาติมีเซลล์อยู่ 2 ประเภทคือ เซลล์ ยูคาริโอต (Eukaryotic cell) เป็นเซลล์ของสิ่ง มีชีวิตชั้นสูงเลี้ยงลูกด้วยนมมีสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ รวมอยู่ตรงกลางเซลล์ มีเยื่อหุ้มชัดเจน ส่วนอีกชนิด หนึ่งคือโปรคาริโอต (Prokaryotic cell) พบในสิ่ง มีชีวิตชั้นต่ำ จะมีสารดีเอ็นเอ กระจัดกระจายอยู่ ทั่วไปภายในเซลล์ของพวกแบคทีเรีย โปรโตซัว เซลล์ในร่างกายมนุษย์ มีความแตกต่างกัน ในเชิงรูปร่าง ขนาด โครงสร้างและหน้าที่การทำงาน โดยอาจเป็นรูปทรงกลม ทรงกระบอก คล้ายจาน หรือดาว เป็นต้น แต่ทุกเซลล์จะมีองค์ประกอบ ทางเคมีที่สำคัญเหมือนกันคือ น้ำมีอยู่ร้อยละ 60 โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและเกลือแร่ ซึ่งเป็น องค์ประกอบพื้นฐานแต่สัดส่วนขององค์ประกอบ เหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปในเซลล์ต่างชนิดกัน เช่น เซลล์ประสาทมีน้ำอยู่ถึงร้อยละ 78 และมี ไขมันมากกว่าโปรตีน เป็นต้น 1.1 โครงสร้างของเซลล์ มี 3 ส่วน ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane, Plasma membrane) ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm และนิวเคลียส (nucleus) ดังรูปที่ 1-4 1.1.1 เยื่อหุ้มเซลล์ (Plasma membrane, cell membrane) เยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โครงสร้างที่แท้จริงใกล้เคียง ธรรมชาติที่สุด แบบที่สมมติโดยนักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกันที่ชื่อซิงเกอร์ (Singer) และนิโคลสัน (Nicholson) ในปี ค.ศ.1972 ว่ามีลักษณะกึ่ง ลวดลายเหลว (Fluid mosaic model) มี ความหนาประมาณ 70-100 อังสตรอม (1 อังสตรอม = 10-10 เมตร) ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะต้องดูด้วยกล้อง จุลทรรศน์ ที่มีกำลังขยายสูงจะเป็นเส้นทึบ สีดำ 2 ชั้น ขนานกัน และมีแถบสีหรือโปร่งแสงอยู่ ระหว่างกลาง (ทึบ-โปร่ง-ทึบ) จึงดูเหมือนเป็น สามชั้น (Trilaminar structure) ดังรูปที่ 1-5 รูปที่ 1-5 (ก) Fluid Mosaic model (ข) ภาพถ่าย TEM แสดงเยื่อหุ้มเซลล์ (ขยาย 300,000 เท่า จากเวคิน นพนิตย์, 2532)


preview22
To see the actual publication please follow the link above