Page 30

preview27

เกณฑ์สภาวะความต้องการพื้นฐานและบริการสำหรับเด็ก จากการประชุมสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30-31 สิงหาคม 2533 โดยสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกและเยาวชน และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ได้ผลสรุปว่า ควรมีการกำหนดเครื่องชี้วัดที่ ชัดเจนในเรื่องความต้องการพื้นฐานและบริการสำหรับเด็ก จึงได้ให้การรับรองปฏิญญาสำหรับเด็ก เพื่อใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาเด็ก โดยคำนึงถึงพื้นฐานความต้องการและบริการสำหรับเด็กเป็นหลัก ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และอนุมัติให้ใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2534 มีรายละเอียดดังนี้ 1. เด็กต้องได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดา บุคคลหรือครอบครัวที่ให้ความรักและความ เข้าใจเพื่อเป็นฐานในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาทางกาย จิตใจ สติปัญญา สังคมอารมณ์ ค่านิยมและเจตคติ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐาน และเสริมสร้างคุณภาพของคน 2. เด็กต้องได้รับสารอาหาร อย่างน้อยที่สุดตามความต้องการของร่างกายที่ได้กำหนดไว้ ตามวัย เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงในช่วงอายุต่างๆ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ แข็งแรงสมบูรณ์ ตามปกติในวัยของตน 3. เด็กต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ และได้รับการป้องกันจากโรคและภัย ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เด็กต้องได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนตามที่กำหนดไว้ ตลอดจน ได้รับการป้องกันทั้งจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อ รวมทั้งต้องได้รับการรักษาขั้นพื้นฐานในกรณีที่ เจ็บป่วยและได้รับการฟื้นฟูสภาพ 4. เด็กต้องมีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ ไม่คับแคบเกินไป และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็น พิษเป็นภัยต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและทางจิต เด็กต้องมีโอกาสและมีสถานที่วิ่งเล่นออกกำลังกาย และเล่นกีฬารวมทั้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการตามวัย 5. เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย เพื่อพัฒนาให้มีปัญญามีคุณธรรม ตามหลักศาสนาของตนและมีจริยธรรมขั้นพื้นฐาน เด็กต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะ ในการดำรงชีวิต มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเจตคติที่จะใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต มีเจตคติที่ดีต่อครอบครัวสังคมและการดำเนินชีวิต มีความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองอย่างถูกต้อง เป็นจริง เข้าใจและยอมรับความต้องการสิทธิและบทบาทของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เป็นพลเมืองไทย ที่มีความรับผิดชอบ มีคุณภาพและรู้จักอยู่ร่วมกันโดยสันติ 6. เด็กต้องได้รับการพัฒนาให้มีสุนทรียภาพ ซาบซึ้งในความงาม รู้จักรัก เข้าใจและอนุรักษ์ มรดกและเอกลักษณ์ของชาติ ด้วยการมีส่วนร่วม สร้างสรรค์และพัฒนาในกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. เด็กต้องได้รับการฝึกอบรม พัฒนาความรู้และทักษะสำหรับการเตรียมการประกอบ อาชีพตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตน เพื่อให้พึ่งตนเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ 16 การพยาบาลเด็ก เล่ม 1


preview27
To see the actual publication please follow the link above