Page 21

preview27

ภราดรภาพสากล และด้วยการสำนึกเต็มที่ว่าพละกำลังและความสามารถพิเศษในตัวเขาจะอุทิศ เพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เนื่องจากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชน มีลักษณะเป็นเพียงการระบุถึงหลักการไว้ อย่างกว้างๆ แต่ไม่ได้ผูกมัดรัฐต่างๆ ให้ต้องปฏิบัติตามเหมือนดังเช่นสนธิสัญญา จึงมีผลเพียง เป็นแนวทางในการปฏิบัติของรัฐเท่านั้น จากกรณีนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่ การยกร่างและการยอมรับซึ่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งมีการประกาศใช้ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2533 ได้มีประเทศต่างๆ ร่วมลงนามแล้วประมาณ 180 ประเทศ ประเทศไทยได้ลงนามใน ภาคยานุวัตสารรับอนุสัญญานี้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีหลักสำคัญสองประการคือ สิทธิของเด็ก เป็นสิทธิของเด็กทุกคน ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และการดำเนินการใดๆ กับเด็ก ต้องคำนึงถึงสิทธิเด็กและหลักประโยชน์สูงสุด ของเด็กในการพิจารณา อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนี้มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรกมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิ พื้นฐานของเด็ก 4 ประการ คือสิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ส่วนอีก 14 ข้อ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่จะทำให้เกิดการ ดำเนินการตามพันธะกรณีที่ระบุไว้ในอนุสัญญา ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของรัฐภาคีที่ร่วมลงนาม ยอมรับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในที่นี้ ซึ่งเนื้อหาของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กส่วนที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพ มีดังนี้ ข้อ 1 เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งอนุสัญญานี้ เด็กหมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่บรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น ข้อ 3 1. ในการกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็กไม่ว่าจะกระทำโดยสถาบันสังคมสงเคราะห์ของรัฐ หรือเอกชน ศาลยุติธรรม หน่วยงานฝ่ายบริหาร หรือองค์กรนิติบัญญัติ ผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก 2. รัฐภาคีจะประกันให้มีการคุ้มครอง และการดูแลแก่เด็กเท่าที่จำเป็น สำหรับความอยู่ดี ของเด็ก โดยคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมายหรือบุคคลอื่น ที่รับผิดชอบเด็กนั้นตามกฎหมายด้วย และเพื่อการนี้ จะดำเนินมาตรการทางนิติบัญญัติ และ บริหารที่เหมาะสมทั้งปวง 3. รัฐภาคีจะประกันว่า สถาบัน การบริหาร และการอำนวยความสะดวกที่มีส่วนรับผิดชอบ ต่อการดูแลหรือการคุ้มครองเด็กนั้นจะเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้โดยหน่วยงานที่มีอำนาจ บทที่ 1 แนวคิดการดูแลสุขภาพเด็กและครอบครัว 7


preview27
To see the actual publication please follow the link above